วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

หน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ การบรรพอุปสมบท


หน้าที่ชาวพุทธ


หน้าที่ชาวพุทธ
     ชาวพุทธเป็นคำที่บัญญัติขึ้นมาใหม่  คำเท่าที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า  คือ  พุทธบริษัท ๔ 
ได้แก่  ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา คำว่า  พุทธบริษัท  หมายถึง  กลุ่มหรือชมรมบุคคลที่รวมกลุ่มกัน
ในแนวคิดเห็นและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นเอกภาพ  ปฏิบัติหน้าที่ในเป้าหมายอันเดียวกัน 
คือเพื่อสร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคม  ต่อมาได้มีการเรียกพุทธบริษัทในคำบัญญัติใหม่ตามภาษาไทยว่า 
พุทธศาสนิกชน  และมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า  ชาวพุทธ  ในเวลาต่อมา
             
ภาพชาวพุทธไหว้หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ที่มา : ภาพโดย อรุณี  สังขกุญชร
ชาวพุทธ  หมายถึง  บุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนา  มีหน้าที่ต่อพระพุทธศาสนาหลายประการ
ในที่นี้จะกล่าวถึงหน้าที่ของชาวพุทธ  ๗  ประการ  ดังนี้




มารยาทชาวพุทธ 


แบบฝึกหัดที่ ๓  เรื่อง  การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (คะแนนเต็ม ๑๘ คะแนน)

๑.  ให้นักเรียนศึกษาภาพตัวอย่างต่อไปนี้  แล้วตอบคำถามในประเด็นที่กำหนดให้ 
คำถาม จากภาพ เป็นการแสดงความเคารพพระภิกษุสงฆ์ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าอย่างไร
ประกอบด้วยอะไรบ้าง  ชาย  หญิง แสดงความเคารพแตกต่างกันอย่างไร (๘ คะแนน)

....................................................................................................................
.........................................……………...............................................................

                                                                                        
..................................................................
.................................................................


...................................................................
...................................................................


....................................................................
...................................................................     
                                                                                            

........................................................................
........................................................................


........................................................................
........................................................................
                       



........................................................................
........................................................................



........................................................................
........................................................................


........................................................................
........................................................................
๒. จากภาพนักเรียนต้องเดินผ่านพระภิกษุที่ท่านกำลังยืนอยู่นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไร (๒ คะแนน)

                       
............................................................................................................................................
...........................................................................................................................................
๓. จากภาพเมื่อนักเรียนรับของจากพระสงฆ์ในขณะที่พระสงฆ์ยืนหรือนั่งอยู่บนที่สูง นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไร  (๒ คะแนน)



.....................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................
๔. สังเกตภาพและตอบคำถาม


๔.๑ เด็กในภาพปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์อย่างไร (๑ คะแนน)
………………………………………………
………………………………………………
๔.๒ นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับการกระทำของเด็กในภาพ (๑ คะแนน)
………………………………………………
………………………………………………
๔.๓  ถ้านักเรียนปฏิบัติเหมือนเด็กในภาพจะเกิดผลอย่างไร (๑ คะแนน)
.............................................................................................................................................................
๔.๔  นอกจากการทำเหมือนเด็กในภาพแล้ว นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไรต่อพระภิกษุสงฆ์อีก (๑ คะแนน)
............................................................................................................................................................

    
๕. ถ้าพระภิกษุสงฆ์ นั่งอยู่กับพื้น และเราต้องการจะนำเครื่องรับรองไปประเคน  ชายและหญิง ปฏิบัติแตกต่างกันอย่างไร  ดังภาพ   (๒ คะแนน)
….........................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................


............................................................................................................................................................
............................................................................................................................................................
การบรรชาอุปสมบท

ประเพณีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของคนไทย มีตั้งแต่แรกเกิดจนไปถึงวันสุดท้ายแห่งสังขาร เริ่มจากประเพณี การทำขวัญวัน ทำขวัญเดือน โกนผมไฟ โกนจุก บรรพชา จนเมื่อมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ หากเป็นชายก็จะต้องอุปสมบท หรือบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย นำมาเป็นหลัก ในการประพฤติปฏิบัติต่อไป ในการออกมาครองเรือน

กิจเบื้องต้นสำหรับการบรรพชาอุปสมบท
เมื่อผู้ที่มีความประสงค์จะบวชมีอายุครบตามกำหนดแล้ว จะต้องตระเตรียมหาวันบวชปละหาอุปัชฌาย์เพื่อบวชให้ตน ซึ่งในสังคมไทยส่วนใหญ่หน้าที่นี้จะเป็นของพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ของผู้ที่จะบวช โดยทั่วไปเชื่อว่า ท่านได้เตรียมการ ไว้ล่วงหน้านานแล้ว ตั้งแต่ทราบว่าทายาทใหม่ที่คลอดออกมาเป็นชาย มีอวัยวะครบบริบูรณ์สามารถบวชเรียนได้
การบวชในเมืองไทยมักนิยมบวชกันตามประเพณีในช่วงก่อนวันเข้าพรรษา คือราวเดือน ๔ ถึงเดือน ๗ ของไทย เทียบกับเดือนของทางราชการก็อยู่ในราว เมษายน ถึง เดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคม ส่วนใหญ่จะบวชกันราว ๓ เดือน และสึกหรือลาสิกขาเมื่อพ้นจากวันออกพรรษา ในราวเดือน ๑๑ หรือเดือน ตุลาคม แต่ถ้าใครจะบวช ต่อเพื่อศึกษา พระธรรมวินัยให้ลึกซึ้งยิ่งๆขึ้นไป และเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ พระพุทธศาสนา ก็ไม่มีเหตุขัดข้องประการใด

วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานที่ 9 เรื่อง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                                                         
 
 
พระราชประวัติ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าปราสาททอง
และ พระนางเจ้าสิริกัลยานี อัคร-ราชเทวีพระราชมารดาเป็น พระราชธิดา
ในสมเด็จพระ-เจ้าทรงธรรม เสด็จพระราช-สมภพ เมื่อ วันจันทร์
เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175
 
 
ครองราชย์
การครองราชย์ราชวงศ์ปราสาททองทรงราชย์ พ.ศ.2199- พ.ศ. 2231 
 ระยะเวลาครองราชย์32 ปี พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 27
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายรัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระศรีสุธรรมราชา
รัชกาลถัดมาสมเด็จพระเพทราชา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
เสด็จสวรรคต พ.ศ. 2231
 
 
พระราชกรณียกิจ
 
ด้านการทหาร
 
ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ทรงปราบปรามเมืองน้อยใหญ่
ให้เป็นมาสวามิภักดิ์ ทั้งหัวเมืองทางเหนือ เช่น เชียงใหม่ ลำพูน
ส่วนศึกกับพม่าแม้จะมีอยู่ในเวลานี้ แต่ก็ทรงจัดทัพตีพ่ายกลับไปอยู่เนืองๆ
กิจการของกองทัพนับว่ารุ่งเรืองและยิ่งใหญ่สมเด็จพระนารายณ์
เองก็ทรงชำนาญในการศึก คล้องช้าง และทรงซื้ออาวุธจากต่างชาติ
สำหรับกิจการของกองทัพด้วย
 
การต่างประเทศ
 
มีการติดต่อทั้งด้านการค้าและการทูตกับประเทศต่างๆ เช่น จีน ญี่ปุ่น
อิหร่าน อังกฤษ และฮอลันดา มีชาวต่างชาติเข้ามาในพระราชอาณาจักร
เป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันยังโปรดฯ ให้แต่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี
กับราชสำนักฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ถึง 4 ครั้งด้วยกัน
ผู้ที่เขียนเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาและสยามมากที่สุด
ในสมัยนี้ก็คือ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์
 
วิทยาการสมัยใหม่
 
พระองค์ยังทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่มาใช้ เช่น กล้องดูดาว
 และยุทโธปกรณ์บางประการ รวมทั้งยังมีการรับเทคโนโลยีการสร้างน้ำพุ
จากชาวยุโรป และวางระบบท่อประปาภายในพระราชวังอีกด้วย
 
ด้านวรรณกรรม
 
สมเด็จพระนารายณ์นับว่าเป็นทั้งนักรบและกวี
ทรงพระ-ราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเรื่อง เช่น
*โคลงพุทธไสยาสน์ป่าโมก
*โคลงพาลีสอนน้อง
*โคลงทศรถสอนพระราม
*ราชสวัสดิ์
*ราชาณุวรรต
*ประดิษฐ์พระร่วง
*สมุทรโฆษคำฉันท์ (ตอนกลาง)
*คำฉันท์กล่อมช้าง (ของเก่า) เป็นต้น
พระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์
ในระหว่างปีพุทธศักราช 2228-2230รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
คณะ-บาทหลวงเจชูอิตชาวฝรั่งเศส ได้มาเผยแพร่ดาราศาสตร์
ในประเทศไทย มีสิ่งก่อสร้าง เช่น หอดูดาววัดสันเปาโล
เป็นหอดูดาวแห่งแรกในประเทศไทย
       นอกจากนี้ในวันที่ 30 เมษายน พุทธศักราช 2231
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง
ที่พาดผ่านแม่น้ำกฤษณะในประเทศอินเดีย พม่า จีน ไซบีเรีย
ไปสิ้นสุดในทวีปอเมริกา สำหรับประเทศไทยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วน
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงกล้องทอดพระเนตร
จันทรุปราคาเต็มดวงใน คืนวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2228
ร่วมกับคณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศส ณ พระตำหนักทะเลชุบศร เมืองลพบุรี
 
 
 
                                     
ภาพสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จออกโปรดเกล้าฯ ให้คณะราชทูตจากฝรั่งเศสเข้าเฝ้า
 
      คณะราชทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

งานที่ 8 เรื่อง จิตตคหบดี

จิตตคหบดี

จิตตคหบดี

จิตตคหบดีเป็นชาวเมืองมัจฉิกาสัณฑะแคว้นมคธ วันที่ท่านเกิดมีปรากฎการณ์ประหลาด คือมีดอกไม้หลากสีตกลงทั้งเมือง ซึ่งเป็นนิมิตหมายแห่งความวิจิตรสวยงาม ท่านจึงได้นามว่า จิตตกุมาร แปรว่า กุมารผู้น่าพิศวงหรือกุมารผู้ก่อให้เกิดความวิจิตรสวยงาม
บิดาของท่านเป็นเศรษฐี ท่านจึงได้เป็น เศรษฐีสืบต่อมาจากบิดา ในวงการพระพุทธศาสนาเรียกท่านว่า จิตตคหบดี ก่อนที่จะมานับถือพระพุทธศาสนาท่านมีโอกาสพบพระมหานามะ (หนึ่งในปัญจวัคคีย์) เห็นท่านสงบสำรวมน่าเลื่อมใสมาก จึงมีความศรัทธานิมนต์ท่านไปฉันภัตตาหารที่คฤหาสน์ของตน และได้สร้างที่พำนักแก่ท่านในสวนชื่อ อัมพาฏการาม นิมนต์ให้ท่านอยู่เป็นประจำ พระมหานามะได้แสดงธรรมให้จิตตคหบดีฟังอยู่เสมอ
วันหนึ่งได้แสดงเรื่อง อายตนะ ๖ (สื่อสำหรับติดต่อโลกภายนอก ๖ ประการ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) หลังจบธรรมเทศนา จิตตคหบดีได้บรรลุอนาคามิผล
จิตตคหบดีเอาใจ ใส่พิจารณาธรรมอยู่เนือง ๆ จนแตกฉาน มีความสามารถในการอธิบายธรรมได้ดี ความสามารถของท่านในด้านนี้เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางในเวลาต่อมา ท่านเคยโต้วาทะกับบุคคลสำคัญของศาสนาอื่น ๆ มาแล้วหลายท่าน เช่น นิครนถ์นาฏบุตร (ศาสดาของศาสนาเชน) และอเจลกนามกัสสปะ (นักบวชชีเปลือย)
ท่านเป็นผู้มีใจบุญได้ถวายทานอย่างประณีตมโหฬารติดต่อกันครึ่งเดือนก็เคยมี เคยพาบริวารสองพันคนบรรทุกน้ำตาล น้ำผึ้งน้ำอ้อย เป็นต้น จำนวนมากถึง ๕๐๐ เล่มเกียน ไปถวายพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์
ครั้งหนึ่งท่านป่วยหนัก เทวดามาปรากฏให้เห็นกล่าวกับท่านว่าคนมีบุญอย่างท่านนี้ แม้ปรารถนาราชสมบัติหลังตายแล้วก็ย่อมได้ ท่านตอบเทวดาว่าถึงราชสมบัติก็ไม่จีรัง เราไม่ต้องการ บรรดาลูกหลานที่นั่งเฝ้าไข้อยู่ นึกว่าท่านเพ้อจึงกล่าวเตือนสติ ท่านบอกบุตรหลานว่ามิได้เพ้อ เทวดามาบอกให้ปรารถนาราชสมบัติ ต่อท่านปฏิเสธยังมีสิ่งอื่นที่ดีกว่า น่าปรารถนากว่า เมื่อถูกถามว่าคืออะไร ท่านกล่าวว่าคือ ศรัทธาอันแน่วแน่ มั่นคงในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
อัมพาฏการามนั้นเป็นวัดที่ท่านสร้างถวายพระมหานามะนิมนต์ให้ท่านอยู่ประจำ แต่พระเถระพักอยู่ชั่วเวลาหนึ่งก็จาริกไปยังที่อื่น พระเถระอื่น ๆ ก็แวะมาพักอยู่เสมอๆ ต่อมามีพระรูปหนึ่งนามว่า สุธรรมเถะ ยังเป็นปุถุุชนมาพำนักอยู่เป็นประจำเป็นเวลานานจนกระทั่งนึกว่าตัวท่านเป็นสมภารวัด พระสุธรรมเป็นปุถุชน จิตตคหบดีเป็นอริยบุคคลระดับอนาคามี ถือเพศฆราวาสก็ยังแสดงความเคารพกราบไหว้พระภิกษุปุถุชน เพราะถือเพศบรรพชิตเป็น "ธงชัยแห่งพระอรหันต์" อุปถัมภ์บำรุงท่านเป็นอย่างดี
วันหนึ่งพระอัคร สาวกทั้งสอง คือ พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะเดินทางผ่านมา ท่านจิตตคหบดีนิมนต์ให้พระอัครสาวกทั้งสองพำนักอยู่ที่อัมพาฏการาม พร้อมนิมนต์เพื่อฉันอาหารที่บ้านท่านในวันรุ่งขึ้น แล้วก็ไปนิมนต์พระสุธรรมไปฉันด้วย
พระสุธรรมถือตัวว่าเป็นเจ้าอาวาสเห็นจิตตคหบดีให้ความสำคัญแก่พระอัครสาวกมากกว่าตนถึงกับนิมนต์ไปฉันภายหลัง จึงไม่ยอมรับนิมนต์ แม้ท่านจะอ้อนวอนอย่างไรก็ไม่ยอมรับ
ตกเย็น ท่านจิตตคหบดีกำลังสั่งให้เตรียมภัตตาหาร พระสุธรรมก็เดินไปในคฤหาสถ์อย่างคนคุ้นเคย ดูนั้นดูนี่แล้วก็เปรยว่า      "อาหารที่ท่านเตรียมถวายพระพรุ่งนี้ดีทุกอย่าง แต่ขาดอยู่อย่างเดียวที่ไม่ได้เตรียมถวาย"
     จิตตคหบดี "ขาดอะไร พระคุณเจ้า"
     พระสุธรรม "ขนมแดกงา" คำว่าขนมแดกงาเป็นคำที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับตระกูลของท่านคหบดี ท่านคหบดีก็ฉุนว่าเอาแรง ๆ เพื่อให้สำนึก พระสุธรรมไม่สำนึกแต่โกรธตอบ หนีจากวัดไปเฝ้าพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องจึงตำหนิแรง ๆ และมีพุทธบัญชาให้กลับไปขอโทษจิตตตคหบดี ท่านกลับไปขอโทษแต่คหบดีไม่ยอมยกโทษให้จึงกลับมาเฝ้าพระพุทธองค์อีก

พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมให้ฟัง พระสุธรรมบรรลุพระอรหันต์พระองค์จึงให้ภิกษุรูปหนึ่งเป็นอนุทูตพาพระสุธรรมไปขอขมาจิตตคหบดีใหม่ คราวนี้ท่านคหบดียกโทษให้
ท่านจิตตคหบดีมีปฏิภาณเฉียบแหลมและมีความสามารถในการแสดงธรรมมาก จึงได้รับการยกย่องในเอตทัคคะว่าเป็นเลิศกว่าผู้อื่นในทางเป็นธรรมกถึก
เมื่อศึกษาประวัติของจิตตคหบดีแล้วให้ความคิดได้ว่า พระพุทธศาสนาเป็นของชาวบ้านทุกคน คฤหัสถ์ก็ควรศึกษาพระพุทธพจน์ให้เข้าใจแจ่มแจ้ง จนสามารถสื่อสารแสดงให้คนอื่นเข้าใจได้ สามารถปกป้องพระพุทธศาสนาได้

งานที่ 2 ให้นักเรียนเเสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพระที่มาร่วมกับ นปช.

มหาเถระสมาคม ต้องออกมาบอกกับชาวบ้านว่าสิ่งที่พระเหล่านี้กระทำอยู่ผิด และประณามการกระทำของพระกลุ่มนี้ จะโยนให้ตำรวจมะเขือเทศได้ไง หรือมหาเถระสมาคมเห็นดีเห็นงามกับการเคลื่อนไหวของพระกลุ่มนี้ โรงพยาบาลจุฬา สมเด็จพระสังฆราชประทับอยู่ พระกลุ่มนี้ไม่เห็นห้ามปรามแกนนำคนเสื้อแดงไม่ให้บุกเข้าไป หรือพระกลุ่มนี้จะล้มล้างสถาบันสงฆ์ควบคู่กันไปด้วย พระกลุ่มนี้ไม่ใช่พระเพียงแค่ขโมยผ้าเหลืองมานุ่งแล้วโกนหัว พฤติกรรมต่างๆ ที่กระทำมันฟ้องว่า พระที่ดีท่านไม่ประพฤติเช่นนี้

งานที่ 7 พระธัมมทินนาเถระ

ประวัติพระธรรมทินนาเถรี
เอตทัคคะผู้เป็นธรรมกถึก
พระธรรมทินนาเถรีผู้ได้รับการแต่งตั้งจากพระบรมศาสดาให้เป็นยอดของภิกษุณีทั้งหลายผู้เป็นธรรมกถึก ก็โดยเหตุ ๒ ประการ คือโดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ เพราะท่านแสดงให้ผู้อื่นเห็นเป็นอย่างชัดเจนในคุณข้อนี้ของท่าน และไม่เพียงเนื่องจากเหตุข้อนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแต่งตั้งโดยเหตุที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้

ตั้งความปรารถนาไว้ในอดีต

ได้ยินว่า พระธรรมทินนาเถรีนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในสกุลหนึ่งในเมืองหงสวดี เมื่อโตขึ้นเลี้ยงชีพด้วยการรับจ้างทำการงานของคน อื่น เป็นผู้มีปัญญา สำรวมอยู่ในศีล ต่อมาวันหนึ่ง ในเวลาเช้า ขณะที่นางเอาหม้อน้ำกำลังจะไปตักน้ำ นางก็ได้พบพระสุชาตมหาเถระผู้เป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้าออกจากอารามเพื่อ ไปบิณฑบาต เมื่อได้เห็นท่านแล้วก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้ถวายขนมด้วยมือของตน ท่านรับแล้วนั่งฉัน ณ ที่นั้นแหละ นางนิมนต์ท่านไปสู่เรือนได้ถวายโภชนะแก่ท่าน ต่อมา นายของนางทราบเข้าแล้วชื่นชมในความเป็นผู้มีกุศลจิต เกิดความยินดีจึงได้แต่งนางให้เป็นลูกสะใภ้ของท่าน
วันหนึ่งนางไปกับแม่สามีและได้เข้าเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า ครั้งนั้น พระ บรมศาสดาทรงประกาศตั้งภิกษุณีองค์หนึ่ง ในตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นธรรมกถึก ท่านได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว มีความยินดี ปรารถนาที่จะได้ตำแหน่งนั้นบ้างในอนาคต จึงได้นิมนต์พระสุคตเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์ ถวายมหาทานแล้วกระทำอธิษฐานเพื่อปรารถนาตำแหน่งนั้น
ในทันใดนั้น พระสุคตเจ้า ได้ตรัสพยากรณ์นางว่า ด้วยผลบุญที่นางได้ยินดีบำรุงพระศาสดา อังคาสพระศาสดากับสาวกสงฆ์ ขวนขวายในการฟังสัทธรรม มีใจเจริญด้วยคุณ นางจะได้ตำแหน่งนั้นตามที่ได้ตั้งความความปรารถนาไว้ โดยในกัปที่หนึ่งแสนแต่กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตม ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก นางจักได้ เป็นธรรมทายาทของพระศาสดาพระองค์นั้น เป็นสาวิกาของพระศาสดา มีชื่อว่า ธรรมทินนา
เมื่อนางได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้วก็มีความยินดี มีจิตประกอบด้วยเมตตา บำรุง พระมหามุนี ด้วยปัจจัยทั้งหลายจนตลอดชีวิต ด้วยกุศลกรรมที่ทำไว้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนงไว้เมื่อนางสิ้นชีวิตลงแล้วได้ไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์
 ครั้นสิ้นชีวิตลง ก็เวียนว่ายอยู่ใน ภพภูมิเทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป

ในสมัยพระปุสสพุทธเจ้า

ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัททกัปนี้ ได้มีนครหนึ่ง ชื่อว่า กาสี พระราชาทรงประนามว่า ชัยเสน ทรงครองราชสมบัติในพระนครนั้น พระองค์ได้มีพระราชเทวีทรงพระนามว่า สิริมา พระโพธิสัตว์นามว่า ผุสสะ บังเกิดในพระครรภ์ของพระนางแล้วตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณโดยลำดับ พระเจ้าชัยเสนนั้นทรงเห็นว่าพระราชโอรสของพระองค์ออกมหาภิเนกษกรมเป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้นท่านจึงถือเสมือนว่าพระพุทธเจ้าเป็นของส่วนพระองค์ท่านแม้พระธรรม และ  พระสงฆ์ก็เช่นกัน เมื่อเป็นดังนี้แล้วจึงทรงอุปัฏฐากด้วยพระองค์เองทุก ๆ ในทุกเมื่อ ไม่ทรงให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่นได้ทำบ้าง
พระราชานั้น ยังมีโอรสผู้เป็นพระอนุชาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น แต่ต่างพระมารดากันอีก ๓ พระองค์ ทั้ง ๓ พระองค์นั้นต่างก็พากันคิดว่า ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล มิใช่เพื่อประโยชน์เฉพาะบุคคลผู้เดียว และพระบิดาของพวกเราก็ไม่ยอมให้โอกาสแก่ชนเหล่าอื่นเลย ทำอย่างไรหนอ พวกเราจะพึงได้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์
พี่น้องทั้ง ๓ พระองค์จึงได้ออกอุบายสร้างสถานการณ์ชายแดนว่าเกิดการปั่นป่วน เพื่อให้พระราชาส่งพวกตนออกไปปราบ และจะได้มีความดีความชอบ ครั้นเมื่อทำตามอุบายนั้นแล้ว พระราชาทรงพอพระทัยได้ประทานพรว่าถ้าพระโอรสทั้งสามพระองค์ปรารถนาสิ่งใดก็จะพระราชทาน พระโอรสทั้งสามจึงขอที่จะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า พระราชาทรงปฏิเสธ แต่พระโอรสทั้งสามทรงยืนยันความประสงค์ พระราชาจึงทรงยินยอม แต่ให้เวลาเพียง ๓ เดือน
พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ปรารถนาจะอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงรับการอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนนี้แก่ข้าพระองค์เถิด
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรับด้วยดุษฎีภาพ พี่น้อง ๓ พระองค์นั้น จึงส่งลิขิตไปถึงนายส่วยผู้จัดเก็บผลประโยชน์ในชนบทของตนว่า พระองค์จะทำการอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๓ เดือนนี้ ขอท่านจงจัดแจงสัมภาระสำหรับอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าทุกอย่างเริ่มตั้งแต่วิหารไป
ทรงแต่งตั้ง บุตรคฤหบดีคนหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ของพี่น้อง ๓ พระองค์นั้น ให้ดูแลเรื่องการเงิน และมอบหมายให้ผู้ใกล้ชิดอีกคนหนึ่งเป็นผู้ดูแลเรื่องการถวายทาน
นายส่วยนั้นได้จัดการทุกอย่างตามพระประสงค์ของพระโอรสทั้งสามแล้วจึงทูลตอบกลับไป เมื่อพี่น้องทั้ง ๓ พระองค์นั้นทราบว่าการจัดแจงต่าง ๆ ได้เรียบร้อยแล้วจึงพร้อมด้วยบริวารอีก ๑,๐๐๐ คน พากันอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์โดยเคารพ นำไปยังชนบท มอบถวายวิหารให้อยู่จำพรรษา
ในครั้งนั้น บุตรคฤหบดี ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ของพี่น้อง ๓ พระองค์นั้น พร้อมด้วยภริยา เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ก็ได้ถวายทานวัตรแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานโดยเคารพ นายส่วยผู้จัดเก็บผลประโยชน์ในชนบทได้พาเขาไปพร้อมกับชาวชนบทประมาณ ๑๑,๐๐๐ คน ได้ให้ทานเป็นไปโดยเคารพทีเดียว บรรดาท่านเหล่านั้น ราชบุตรนายส่วยในชนบท และบุตรคฤหบดีผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ และเจ้าหน้าที่ผู้จัดแจงเรื่องถวายทาน เมื่อสิ้นชีวิตลงแล้วก็ไปบังเกิดในสวรรค์ตามลำดับ
ในสมัยพระพุทธเจ้าของพวกเรานี้ พระโอรส ๓ พี่น้องก็มาเกิดเป็น ชฎิล ๓ พี่น้องคือ พระอุรุเวลกัสสปเถระ พระนทีกัสสปเถระ และ พระคยากัสสปเถระ  นายส่วยผู้จัดเก็บผลประโยชน์ในชนบท ก็มาเกิดเป็นพระเจ้าพิมพิสาร  เจ้าหน้าที่ผู้จัดแจงเรื่องถวายทาน เกิดมาเป็น พระรัฐปาลเถระ บุตรคฤหบดี ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลพระราชทรัพย์ เกิดมาเป็น วิสาขเศรษฐี และ ภรรยาของบุตรคฤหบดี เกิดมาเป็น นางธัมมทินนาเถรี

ในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

ในภัทรกัปนี้ ในสมัยแห่งพระ พุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ท่านได้มาเกิดเป็นพี่น้องกับพระสาวิกาอีก ๖ ท่าน คือ พระเขมาเถรี พระอุบลวรรณาเถรี พระปฏาจาราเถรี พระกุณ ฑลเกสีเถรี พระกิสาโคตมีเถรี และนางวิสาขามหาอุบาสิกา โดยเป็นพระธิดาแห่งพระเจ้า กาสีพระนามว่ากิกีผู้ครองพระนครพาราณสีอันอุดม พระองค์ทรงเป็นอุปัฏฐากของพระกัสสปพุทธเจ้า โดยตัวท่านเองมาบังเกิดเป็นเป็นพระธิดาคนที่หกของท้าวเธอ มีนามปรากฏว่าสุธรรมา มีพระพี่นางคือ พระนางสมณี พระนางสมณคุตตา พระนางภิกขุนี พระนางภิกขุทาสิกา และพระนางธรรมา และมีพระขนิษฐาคือ นางสังฆทาสี
พระนางทั้ง ๗ นั้นเมื่อได้ฟังธรรมจากพระบรมศาสดาแล้วก็เลื่อมใส ใคร่ที่จะออกบรรพชา แต่พระเจ้ากิกีผู้เป็นพระชนกนาถมิได้ทรงอนุญาต พระนางทั้งหมดจึงได้ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นกุมารีอยู่สองหมื่นปี ได้สร้างบริเวณที่อยู่ถวายพระภิกษุสงฆ์ ด้วยกุศลกรรมที่ได้ทำไว้แล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตน์จำนง ไว้ เมื่อละร่างกายมนุษย์แล้วได้ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง

ในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ในพุทธุปบาทกาลนี้ พระราชธิดาทั้ง ๗ นั้นก็ได้มาเกิดเป็น พุทธสาวิกาคือ คือ พระนางสมณี ได้มาเกิดเป็นพระเขมาเถรี พระนางสมณคุตตา ได้มาเกิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี นางภิกขุนี ได้มาเกิดเป็น พระปฏาจาราเถรีนางภิกขุทาสิกา ได้มาเกิดเป็น พระกุณ ฑลเกสีเถรี นางธรรมา ได้มาเกิดเป็น พระกิสาโคตมีเถรี และนางสังฆทาสี ได้มาเกิดเป็นนางวิสาขามหาอุบาสิกา
ส่วนตัวท่านเองมาถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐีที่มั่งคั่งเจริญ มีทรัพย์มากในพระนครราชคฤห์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นก็ได้แต่งงานมีครอบครัวกับวิสาขเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นเอง
ต่อมาเมื่อครั้งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเทศนาโปรดเหล่าชฏิลทั้งสามพร้อมทั้งบริวาร ที่อุรุเวลาเสนานิคมแล้ว ก็ทรงระลึกถึงปฏิญญาที่ได้ทรงให้ไว้กับพระเจ้าพิมพิสารเมื่อก่อนที่จะทรงตรัสรู้ว่า ถ้าตรัสรู้แล้วก็จะทรงมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จึงได้เสด็จดำเนินไปยังกรุงราชคฤห์กับหมู่ภิกษุขีณาสพชฏิลเก่า แล้วทรงแสดงธรรมถวายพระเจ้าพิมพิสารมหาราชซึ่งเสด็จดำเนินมาพร้อมกับบริษัทแสนสองหมื่นคนเพื่อเฝ้าพระพุทธเจ้า
ในชนแสนสองหมื่นคนที่มาพร้อมกับพระราชาในครั้งนั้น หนึ่งหมื่นคนประกาศตนเป็นอุบาสก อีกหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นคนพร้อมกับพระเจ้าพิมพิสาร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล วิสาขอุบาสกนี้เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้นซึ่งเป็นผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลในการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง
 ในอีกวันหนึ่ง วิสาขอุบาสกก็ได้ฟังธรรมอีก ในครั้งนี้อุบาสกสำเร็จสกทาคามิผล แต่นั้นมาในภายหลังวันหนึ่ง เมื่อได้ฟังธรรมอีก จึงได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล ในวันที่วิสาขอุบาสกสำเร็จเป็นเป็นพระอนาคามีแล้ว เดินทางกลับบ้าน ก็ไม่ได้กลับมาเหมือนอย่างวันอื่น ที่เมื่อกลับมาก็มองนั่นดูนี่ หัวเราะยิ้มแย้มพลางเดินเข้ามา หากแต่กลายเป็นคนสงบกายสงบใจเดินเข้าบ้านไป

นางธรรมทินนาออกบวช

นางธรรมทินนาแง้มหน้าต่างพลางมองไปที่ถนนเห็นเหตุการณ์ในการมาของเขาแล้วก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับท่านอุบาสก เมื่อนางออกมายืนที่หัวบันไดทำการต้อนรับเขาพลางก็เหยียดมือยื่นออกไปให้อุบาสกจับ อุบาสกกลับหดมือของตนเสีย
นางคิดว่าจะไปถามในเวลารับประทานอาหาร แต่ก่อนมาอุบาสกรับประทานพร้อมกันกับนาง แต่วันนั้นกลับไม่ยอมมองนาง ทำราวกะว่าเป็นโยคาวจรภิกษุ รับประทานคนเดียวเท่านั้น นางคิดว่าจะไปถามเวลานอน ในวันนั้นอุบาสกไม่ยอมเข้าห้องนอนนั้น กลับสั่งให้จัดห้องอื่นให้ตั้งเตียงน้อยที่สมควรแล้วนอน.
อุบาสิกาคิดว่าตนคงกระทำความผิดอันใดไว้ อุบาสกจึงไม่ยอมพูดด้วย ไม่นอนร่วมห้องด้วย ก็เกิดความเสียใจอย่างแรง จึงเข้าไปหาท่านอุบาสกแล้วถามว่า ตัวนางเองมีความผิดอะไรหรือ ท่านอุบาสกจึงไม่ยอมถูกเนื้อต้องตัว ไม่ยอมพูดด้วย และ ไม่ยอมนอนร่วมห้องด้วย
วิสาขอุบาสกได้ยินนางถามดังนั้นก็คิดว่า "ชื่อว่าโลกุตตรธรรมนี้เป็นภาระหนักไม่พึงเปิดเผย แต่ถ้าเราไม่บอก ธรรมทินนานี้จะพึงหัวใจแตกตายในที่นี้เอง"
เพื่อที่จะอนุเคราะห์นาง ท่านเศรษฐีจึงบอกว่า "ธรรมทินนา ฉันได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วได้บรรลุโลกุตตรธรรม ผู้ได้บรรลุโลกุตตรธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่กระทำแบบโลกๆ อย่างที่เคยทำมาแต่ก่อน ถ้าเธอต้องการ ทรัพย์ทั้งหมดของฉัน ก็จงรับไป แล้วจงอยู่ดำรงตำแหน่งแม่ หรือตำแหน่งน้องสาวของฉันก็ได้ ฉันจะขอเลี้ยงชีพด้วยเพียงก้อนข้าวที่เธอให้ หรือเธอเอาทรัพย์เหล่านี้ไปแล้วกลับไปอยู่กับตระกูลของก็ได้ หรือถ้าเธอต้องการมีสามีใหม่ ฉันก็จะตั้งเธอไว้ในตำแหน่งน้องสาว หรือตำแหน่งลูกสาวแล้วยกเธอให้กับชายนั้นแล้วเลี้ยงดู"
นางคิดว่า "ผู้ชายปกติ จะไม่มีใครพูดอย่างนี้ เขาคงแทงทะลุโลกุตตรธรรมเป็นแน่ ก็ผู้ชายเท่านั้นหรือที่พึงแทงทะลุธรรมนั้นได้ หรือแม้เป็นผู้หญิงก็สามารถแทงทะลุได้" จึงพูดกับวิสาขะว่า "ธรรมนั้นผู้ชายเท่านั้นหรือหนอที่พึงได้ หรือแม้เป็นผู้หญิงก็สามารถบรรลุได้ด้วย"
ท่านอุบาสกตอบว่า "พูดอะไร ธรรมทินนา ผู้ที่เป็นนักปฏิบัตินั้น ย่อมเป็นทายาทของธรรมนั้น ผู้ที่มีอุปนิสัยก็ย่อมได้รับธรรมนั้น"
นางธรรมทินนา "เมื่อเป็นอย่างนั้น ขอให้ท่านยินยอมให้ดิฉันบวชเถิด"
วิสาขอุบาสก "ดีแล้วที่รัก ฉันเองก็อยากจะแนะนำในทางนี้เหมือนกัน แต่ยังไม่รู้ใจเธอจึงไม่พูด"
แล้ววิสาขอุบาสกจึงให้นางธรรมทินนาอาบน้ำหอม ให้ประดับประดาด้วยเครื่องสำอางทุกอย่าง ให้นั่งบนวอทอง แวดล้อมด้วยหมู่ญาติ บูชาด้วยดอกไม้หอมเป็นต้น พาไปสู่สำนักภิกษุณีแล้วเรียนว่า "ขอให้นางธรรมทินนาบวชเถิด แม่เจ้า"
พวกภิกษุณีคิดว่าท่านเศรษฐีจะลงโทษภรรยาที่กระทำความผิดโดยการให้ออกบวชจึงพูดว่า" คฤหบดี กับความผิดอย่างหนึ่งหรือสองอย่าง ท่านก็ควรจะอดทนได้"
วิสาขะจึงเรียนว่า "ไม่มีความผิดอะไรหรอก แม่เจ้า เธอบวชด้วยศรัทธา"
ลำดับนั้น ภิกษุณีผู้สามารถรูปหนึ่ง จึงบอกกัมมัฏฐานหมวดห้าแห่งหนัง ให้โกนผมแล้วให้บวช
วิสาขะพูดว่า "แม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมไว้ดีแล้ว ท่านจงยินดีเถิด" ไหว้แล้วหลีกไป.

นางธรรมทินนาบรรลุพระอรหัต

ตั้งแต่วันที่นางบวชแล้ว ลาภสักการะก็เกิดขึ้น เพราะเหตุนั้นนางจึงยุ่งจนหาโอกาสทำสมณธรรมไม่ได้ ทีนั้น พวกพระเถรีที่เป็นอาจารย์และอุปัชฌาย์จึงพานางไปบ้านนอก แล้วก็ให้เรียนกัมมัฏฐานตามชอบใจในอารมณ์สามสิบแปดอย่างเริ่มทำสมณธรรม สำหรับนางลำบากไม่นานเพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอานุภาพแห่งความปรารถนาที่กระทำไว้เมื่อครั้งพระศาสดาทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติในโลก ด้วยอำนาจแห่งความปรารถนานั้น นางจึงไม่เหนื่อยมาก สองสามวันเท่านั้นเองก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว พระธัมมทินนาเถรีคิดว่าใจของเราหมดกิเลสแล้ว บัดนี้เราจักอยู่ทำอะไรในที่นี้ เราจักไปกรุงราชคฤห์ถวายบังคมพระศาสดา และพวกญาติของเราเป็นจำนวนมากจักกระทำบุญ พระเถรีจึงกลับมากรุงราชคฤห์กับภิกษุณีทั้งหลาย

วิสาขอุบาสกทดสอบพระเถรี

วิสาขะได้ฟังว่านางธรรมทินนากลับมาจึงคิดว่า นางบวชแล้วไปบ้านนอกยังไม่นานเลย ก็กลับมา นางคงจะยังยินดีอยู่ในโลกีย์วิสัยละมัง แล้วก็ได้ไปสำนักนางภิกษุณี ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง แล้วจึงคิดว่าจะ ถามถึงเรื่องที่ตนสงสัยก็เห็นจะไม่สมควร จึงถามปัญหาด้วยอำนาจปัญจขันธ์  เป็นต้น.
พระธรรมทินนาเถรีก็วิสัชนาปัญหาที่วิสาขอุบาสกถามแล้ว  เหมือนเอาพระขรรค์ตัดก้านบัวฉะนั้น.
อุบาสกรู้ว่า พระธรรมทินนาเถรี มีญาณกล้า จึงถามปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย พระเถรีก็เฉลยปัญหาเหล่านั้นโดยลำดับ จนในที่สุด อุบาสกถามโดยอาการทุกอย่างในอนาคามีมรรคตามลำดับ ในฐานะที่ตนบรรลุแล้ว ทั้งยังถามปัญหาในอรหัตมรรค ซึ่งเป็นการถามตามที่ได้เล่าเรียนมา เพราะตนยังไม่บรรลุถึงขั้นนั้น
พระธรรมทินนาเถรีก็รู้ว่า อุบาสกมีวิสัยเพียงอนาคามิผล เท่านั้น คิดว่า บัดนี้ อุบาสกถามเกินวิสัยของตนไป จึงทำให้อุบาสกนั้นกลับโดยกล่าวว่า ท่านวิสาขะ ท่านยังไม่อาจกำหนดที่สุดแห่งปัญหาทั้งหลายได้ ท่านวิสาขะ  ถ้าท่านยังจำนงหวังพรหมจรรย์ที่หยั่งลงสู่พระนิพพาน มีพระนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีพระนิพพานเป็นที่สุด ท่านวิสาขะ ท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามความข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์อย่างไร ก็พึงทรงจำไว้อย่างนั้น

ทรงแต่งตั้งเป็นเอตทัคคะผู้เป็นธรรมกถึก

วิสาขอุบาสกกราบทูลนัยแห่งคำถามและคำตอบทั้งหมดแด่พระศาสดา พระศาสดาทรงสรรเสริญพระเถรีนั้นด้วยพระพุทธพจน์ว่า วิสาขะ ภิกษุณีธัมมทินนาเป็นบัณฑิตเป็นต้น ทรงประกาศการพยากรณ์ปัญหาเทียบกับพระสัพพัญญุตญาณ ทรงทำจูฬเวทัลลสูตรนั้นแลให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงตั้งพระธัมมทินนาเถรีนั้นไว้ในตำแหน่งเลิศของภิกษุณีผู้เป็นธรรมกถึก


วันอังคารที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2553

งานที่ 6 พระองคุลิมาลเถระ

งานที่5 ประวัติของพระอนรุทะเถระ

                                                                พระอนุรุทธเถระ
พระอนุรุทธเถระ หรือ พระอนุรุทธเถรศากยะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก 80 องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล พระอนุรุทธเถระ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ
พระอนุรุทธเถระ ออกผนวชพร้อมกับเจ้าราชกุมารอีก 5 พระองค์ และนายอุบาลีภูษามาลา ณ อนุปิยนิคม เมื่อท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านมักตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุอยุ่เสมอ พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านให้เป็นพระเอตทัคคะผู้เลิศทางทิพยจักษุยาณ (ตาทิพย์)


ชาติภูมิ
พระอนุรุทธเถระ เป็นพระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า โดยท่านเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุกโกทนะผู้เป็นพระอนุชาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะ เจ้าชายอนุรุทธะมีพระภาดาพระภคินีร่วมมารดาเดียวกันผีก 2 พระองค์คือ พระเชษฐาพระนามว่ามหานามะ และพระกนิษฐภคินีพระนามว่าโรหิณี
สาเหตุที่ออกบวช
เจ้าชายอนุรุทธกุมาร เมื่อยังเป็นฆราวส ดำรงพระสถานะเป็นพระราชโอรสของกษัตริย์ผู้สุขุมาลชาติ มีปราสาท 3 หลัง แม้แต่คำว่าไม่มีก็ไม่เคยรู้จัก เมื่อเหล่าศากยราชกุมารพระองค์อื่นออกผนวชติดตามพระพุทธเจ้า เจ้ามหานามะผู้เป็นพระเชษฐาจึงปรารภเรื่องออกบวชกับท่านอนรุทธะว่าควรตัดสินใจเลือกคนในตระกูลสักคนออกบวชบ้าง แต่ท่านอนุรุทธะปฏิเสธว่าตนคงออกบวชไม่ได้เพราะเคยได้รับความสุขอยุ่ไม่อาจจะบวชอยู่ได้ เจ้ามหานามะจึงรับอาสาบวช โดยได้สั่งสอนการทำนาข้าวโดยละเอียยดตั้งแต่ไถจนถึงเก็บเกี่ยว เวียนไปทุกฤดูกาลทุกปี ๆ ไป แก่ท่านอนุรุทธะ ท่านอนุรุทธะฟังแล้วคิดว่า การงานไม่มีที่สิ้นสุด จึงบอกว่าตนจะอาสาบวชเอง
จากนั้นท่านได้ไปขออนุญาตพระมารดา พระมารดาคงไม่ประสงค์ให้ท่านบวชจึงกล่าวท้าทายว่าถ้าหากชวนพระเจ้าแผ่นดินศากยะออกบวชได้ จึงจะอนุญาตให้บวช ท่านจึงไปรบเร้าและชวนพระเจ้าภัททิยะราชาให้ออกบวช ในขั้นแรกพระเจ้าภัททิยราชาปฏิเสธ จนสุดท้ายพระอนุรุทธะรบเร้าหนักเข้าและพระเจ้าภัททิยะราชาคงเห็นคุณแห่งการออกบวชจึงยอมสละราชสมบัติออกผนวชตาม
ดังนั้นเจ้าชายอนุรุทธะจึงพร้อมกับเจ้าราชกุมารทั้ง 5 คือ พระเจ้าภัททิยะศากยะราชา, เจ้าชายอานันทะ, เจ้าชายภัคคุ, เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายเทวทัตต์ และนายช่างกัลบกนามว่านายอุบาลีภูษามาลาอีก 1 ท่าน รวมเป็น 7 ออกบวช ณ อนุปิยอัมพวัน ในอนุปิยนิคม แคว้นมัลละ โดยในวันผนวชนั้น เจ้าชายทั้ง 6 ได้ตกลงกันให้นายอุบาลีผู้เป็นช่างภูษามาลาออกบวชก่อนตน เพื่อจะได้ทำความเคารพเป็นการลดทิฐิและมานะแห่งความเป็นเชื้อสายกาษัตริย์ ของตนลง โดยทั้งหมดได้อุปสมบทด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทาโดยตรงจากพระพุทธเจ้า
เมื่อพระอนุรุทธะออกบวชแล้ว ได้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับพระสารีบุตร แล้วเข้าไปปฏิบัติพระกรรมฐานในป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน ได้ตรึกถึงมหาปุริสวิตก 7 ประการ ว่าเป็นธรรมะของผู้ปรารถนาน้อย ยินดีด้วยสันโดษ ไม่ใช่ธรรมของผู้มักมาก พระพุทธเจ้าเสด็จไปถึงทรงทราบความนั้นจึงตรัสแสดงมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 ว่าเป็นธรรมของผู้ไม่เนิ่นช้า พระอนุรุทธะเจริญสมณธรรมต่อไปก็ได้บรรลุอรหันต์
เมื่อท่านบรรลุสมณธรรมแล้ว ท่านชอบตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุอยู่เสมอ ยกเว้นแต่เวลาฉันภัตตาหารเท่านั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าจึงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้าน ผู้มีทิพยจักษุญาณ
บุพกรรมในอดีตชาติ
ท่านพระอนุรุทธเถระ ก็ได้กระทำบุญญาธิการไว้ ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย ก่อสร้างบุญทั้งหลาย อันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน ไว้ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ อันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ พอเจริญวัยแล้ว วันหนึ่งไปวิหารฟังธรรม ในสำนักของพระศาสดา เห็นพระภิกษุรูปหนนึ่ง ที่พระศาสดาทรงแต่งตั้งไว้ ในตำแหน่งเลิศแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจักษุทิพย์ แม้ตนเองก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงให้มหาทานให้เป็นไป ๗ วัน แด่พระผู้มีพระภาค ซึ่งมีภิกษุบริวารแสนหนึ่ง ในวันที่ ๗ ได้ถวายผ้าชั้นสูงสุด แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้วได้ทำความปรารถนาไว้
ฝ่ายพระศาสดา ก็ได้ทรงเห็นความสำเร็จของเขา โดยไม่มีอันตราย จึงพยากรณ์ว่า จักเป็นผู้เลิศ แห่งผู้มีทิพยจักษุทั้งหลาย ในศาสนาของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล เขาเองก็กระทำบุญทั้งหลาย ในพระศาสนานั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้ทำการบูชาด้วยประทีปอันโอฬาร ที่สถูปทองขนาด ๗ โยชน์ และประทีปกระเบื้อง กับถาดสำริดเป็นอันมาก ด้วยอธิษฐานว่า จงเป็นอุปนิสัย แก่ทิพยจักษุญาณ เขาทำบุญทั้งหลายอยู่ตลอดชีวิต ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก
ในกาลแห่งพระพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสถูปทองขนาด ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว จึงเอาถาดสำริดจำนวนมาก มาบรรจุให้เต็มด้วยเนยใส อันใสแจ๋ว และให้วางก้อนน้ำอ้อยงบ ก้อนหนึ่งๆ ไว้ตรงกลาง ให้ขอบปากกับขอบปากจรดกัน แล้วให้ตั้งล้อมพระเจดีย์ ให้เอาถาดสำริด ที่ตนถือบรรจุด้วยเนยใส อันใสแจ๋วให้เต็ม จุดไฟพันไส้ แล้ววางไว้บนศีรษะ เดินเวียนพระเจดีย์อยู่ตลอดคืน ได้กระทำกุศล จนตลอดชีวิต แล้วบังเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ในเทวโลกตลอดชั่วอายุ